วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 14

วันนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานโครงการ "ปัญหาขยะล้นห้องเรียนเกิดจากนักศึกษาไทยไม่มีจิตปฏิบัติสาธารณะจริงหรือ" ของแต่ละกลุ่มได้ออกมานำมาเสนอโดยไวนิล และรายงานรูปเล่ม

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 13

อาจารย์ได้แนะนำ และเปิดโอกาสให้นิสิตได้ถามเกี่ยวกับการทำโครงการการทำโครงการการฝึกทัษะการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นปัญหาขยะล้นห้องเรียนเกิดจากนักศึกษาไทยไม่มีจิตปฏิบัติสาธารณะจริงหรือ และปล่อยให้นิสิตได้ไปทำการปฏิบัติการทำโครงการเองอย่างเต็มที่



สัปดาห์ที่ 12

อาจราย์ได้สรุปเรื่องที่ได้สอนให้นิสิตได้เรียนรุ้ ได้ชี้แจงให้นิสิตฟังว่าในแต่ละสัปดาห์ได้เรียนอะไรไปบ้างแล้ว ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่ได้พบกับอาจารย์ใน วันที่ 4 ก.พ. 2552 จนถึงแผนการล่วงหน้าในวันที่ 24 ก.พ. 2553 ซึ่งเป็นวันที่จะสอบปลายภาค ส่งแฟ้มสะสมงาน/รับแฟ้มคืนนั่นเอง

สัปดาห์ที่ 11

อาจารย์ให้ทำโครงการการฝึกทัษะการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นปัญหาขยะล้นห้องเรียนเกิดจากนักศึกษาไทยไม่มีจิตปฏิบัติสาธารณะจริงหรือ

โดยนำเสนอข้อมูลเป็นรูปเล่มรายงาน โดยการนำโปรแกรมและหลักการต่างๆที่ได้เรียนมาในรายวิชาเข้ามาช่วยในการทำโครงการ เช่น โปรแกรม Mindjet MindManager ในการทำเป็นมายด์เม็บ เทคนิคบูลีน เพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆบนเว็บไซต์ เป็นต้น และนำเสนอข้อมูลด้วยไวนิลขนาด 60x160 ซม.

สัปดาห์ที่ 10

บทความ คือ สื่อที่ใช้ตัวอักษรหรรือข้อความในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์
-ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาที่ดีเลิศ
-ต้องการเพียงอ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายและชัดเจนเพียงพอที่จะให้สารแก่ผู้อ่าน

วิธีการเขียนบทความ
1.คำนำ บอกให้รู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไร เขียนกล่าวทั่วไปหรือเจาะจง ต้องให้น่าอ่านน่าติดตาม
2.เนื้อเรื่อง
-การขยายความ ช่วยให้เข้าใจมากขึ้น
-รายละเอียด มีการให้สถิติ รวบรวมข้อมูล การเปรียบเทียบหรือยกตัวอย่างประกอบ
3.สรุป แสดงทัศนะข้อคิดเห็น รวมทั้งข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา

การเขียนอ้างอิงเอกสารใน Reference
1.การอ้างอิงในเนื้อหา (การอ้างอิงแบบนาม.ปี)
2.การอ้างอิงอยู่ท้ายบท หรือบรรณานุกรม (Bibliography)เรียงตามลำดับการอ้างอิงด้วยตัวอักษร
-การอ้างอิงในเนื้อหา = ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. หน้า
-บรรณานุกรมท้ายเล่ม = ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์.ชื่อเรื่อง.ชื่อเอกสาร (เขียนเส้นใต้ และทำตัวหนาด้วย).ปี(ฉบับ).หน้า.
-แบบ Eng = สกุล.ปีที่พิมพ์.pp(หน้า). = สกุล.ชื่อต้น.A(ชื่อกลาง).ปี.ชื่อเรื่อง.ชื่อเอกสาร(เขียนเส้นใต้ และทำตัวหนาด้วย).ปี(ฉบับ).หน้า.

3.การอ้างอิงในสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ = ชื่อผู้แต่ง.//ชื่อเรื่อง.//[ประเภทของสื่อ].//รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี).//เข้าถึงได้จาก /:/แหล่งสารสนเทศ.//(วันที่ค้นข้อมูล /:/วัน/เดือน/ปี).

สัปดาห์ที่ 9

การวิเคราะห์เนื้อเรื่องด้วย 5W1H ที่ว่าด้วยหัวข้อข่าวเรื่อง ประทับใจ...คุณแม่ลืมเงินแสนไว้ในปั๊มได้คืน...
การวิเคราะห์โดยใช้ 5W1H
Who -คุณไชยนต์, คุณแม่ของคุณไชยนต์ และพลเมืองดี
What -การลืมกระเป๋าเงินไว้ในห้องน้ำปั๊มน้ำมัน
Where -ปั๊มน้ำมัน ปตท. จ.ตาก
When -เที่ยงวันที่ 28 ก.พ.
Why -พลเมืองดีเก็บกระเป๋าเงินได้ ที่คุณแม่ของคุณไชยนต์ลืมไว้ในห้องน้ำ
how -สุดท้ายคุณแม่ของคุณไชยนต์ได้กระเป๋าเงินคืน


หลักธรรมเรื่องไฟริษยา ของ ท่าน ว.วชิรเมธี
มีอยู่ว่า
มีพระราชาอยู่องค์หนึ่งต้องการสละราชสมบัติจึงต้องการให้โอรสองค์โตเป็นผู้สืบราชสมบัติต่ไป แต่พระราชากลัวว่าโอรสองค์เล็กจะอิจฉาริษยา จึงอยากรู้ว่าโอรสองค์เล็กนั้นมีความอิจฉาริษยาแค่ไหนจึงไปถามคำถามแก่โอรสองค์เล็กว่า "พ่อจะให้สิ่งของเจ้าหนึ่งอย่างนะลูก แต่สิ่งที่เจ้าขอนั้นพี่ของเจ้าจะได้มากกว่าเป็นสองเท่านะ และเจ้าต้องการอะไรหละ" โอรสองค์เล็กจึงตอบว่า "ลูกขอเวลาคิดดูก่อนนะพ่อ" พอเช้าวันรุ่งขึ้นพระราชาจึงถามว่า "ลูกๆต้องการอะไรหละ" โอรสองค์เล็กจึงตอบว่า "ลูกต้องการควักลูกตาออกข้างหนึ่ง และท่านพี่ก็จะต้องโดนควักสองข้างนะท่านพ่อ" ตอนนี้พระราชารู้แล้วว่าโอรสองค์เล็กนั้นมีความอิจฉาริษยามาก
หลักธรรมเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
การที่เราไปอิจฉาริษยาผู้อื่นนั้น ถ้าเราไปทำอะไรให้เขาเดือดร้อนนั้น และสิ่งที่เราไปทำกับเขานั้นอาจทำให้เราเดือดร้อนไปด้วยก็ได้

สัปดาห์ที่ 8 อาจารย์ให้นิสิตได้มีโอกาสพูดเกี่ยวความในใจของตนเองที่มีต่อเพื่อนๆ และความรู้สึกที่มีต่อในรายวิชา

สัปดาห์นี้อาจารย์ให้นิสิตได้มีโอกาสพูดเกี่ยวความในใจของตนเองที่มีต่อเพื่อนๆ และความรู้สึกที่มีต่อในรายวิชา

โดยการพูดอาจารย์จะให้ส่งสมุดไปเรื่อยๆ ทั้งหมดวนไปสองรอบ พอสมุดไปอยู่ที่ใครแล้วถ้าใครต้องการที่จะพูดก็ถือสมุดเอาไว้ และกล่าวในสิ่งที่อยากจะพูดออกมาให้เพื่อนๆได้ฟังกันอย่างลึกซึ้ง และเมื่อเพื่อนๆได้ฟังกันก็เข้าใจกันมากขึ้นจากที่เพื่อนได้คิดได้กระทำการต่างๆ มาตลอด

สุดท้ายถ้าทุกคนในเซคไม่เข้าใจกันแล้วเราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร